วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แบบทดสอบ O-NET ม. 6 (คอมพิวเตอร์)

1.ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพา
ประเภท  Smartphone.
1.  Ubumtu       2.  Iphone  os
3.  Android      4.  Symbian
เฉลยข้อ  1

2.ไฟล์ประเภทใดในข้อต่อไปนี้เก็บข้อมูลในลักษณะตัวอักษร.
1.  ไฟล์เพลง  MP 3 (mp 3)
2.  ไฟล์รูปประเภท  JPEG (jpeg)
3.  ไฟล์แสดงผลหน้าเว็บ (html)
4.  ไฟล์วีดีโอประเภท  Movie (movie)
เฉลยข้อ  3

3.ลิขสิทธิ์โปรแกรมประเภทรหัสเปิด(Open Source)อนุญาต
ให้ผู้ใช้ทำอะไรได้บ้าง.
ก.  นำโปรแกรมมาใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
ข.  ทดลองใช้โปรแกรมก่อนถ้าพอใจจึงจ่ายค่าลิขสิทธิ์
ค.  แก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเองได้
1.  ข้อ  ก กับ  ข้อ  ค      2.  ข้อ  ข  กับ  ข้อ  ค
3.  ข้อ  ข  อย่างเดียว     4.  ข้อ  ก  อย่างเดียว
เฉลยข้อ  4

4.ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด.
1.  การบันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีใช้เทคโนโลยีแบบแม่เหล็ก
2.  หมายเลขไอพีเป็นหมายเลขที่ใช้กำกับ  Network Interce Card
3.  หน่วยความจำสำรองเป็นหน่วยความจำที่มีคุณลักษณะแบบ Volntile
4.  รหัส ACIIและEBCIDICเป็นการวางรหัสตัวอักษรที่ใช้ขนาด  8 บิด
เฉลยข้อ  3   

5.ในการออกแบบฐานข้อมูลดังกล่าวข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง.
1.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้ ตารางกระทู้และตารางคำตอบ
2.  ไม่ต้องสร้างตารางผู้ใช้เนื่องจากสามารถบันทึกชื่อ
ผู้ใช้ในตารางกระทู้และตารางคำตอบได้เลย
3.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้และตารางกระทู้ส่วนคำตอบจะอยู่
ในตารางกระทู้อยู่แล้ว
4.  ไม่ต้องสร้างตารางกระทู้เพราะสามารถบันทึกกระทู้ที่ผู้ใช้
ตั้งในตารางผู้ใช้ได้เลย
เฉลยข้อ  4

6.ข้อใดเป้นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเมื่อค้นคว้า
หาข้อมูลจากอินเทอร์เนตมาทำรายงาน.
1.  คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์
2.  ใช้เนื้อหาจากกระดานสนทนา(Web board)มาใส่ในรายงาน
3.  นำรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่ในรายงาน
4.  อ้างอิงชื่อผู้เขียนบทความ
เฉลยข้อ  4

7.ห้องสมุดแห่งหนึ่งต้องการพัมนาระบบยืมหนังสือโดยสามารถ
บันทึกข้อมูลการยืมหนังสือลงบนบัตรอิเลคโทรนิกส์โดยไม่ต้อง
เขียนด้วยมือระบบนี้ควรใช้เทคโนโลยีในข้อใด.
1.  Smart  Card          2.  Fingerprint
3.  Barcode                 4.  WiFi
เฉลยข้อ  3

8.ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ต้องเชี่ยวชาญความรู้
ด้านใดบ้างจากตัวเลือกต่อไปนี้.
ก.  ฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์       ข.  ระบบปฎิบัติการ
ค.  เว็บเซิร์ฟเวอร์                   ง.  HTML
จ.  ระบบฐานข้อมูล                ฉ.  ภาษาจาวา(Java)
1.  ข้อ  ก และ ค                    2.  ข้อ  ข  และ  จ
3.  ข้อ  ค  และ  ง                   4.  ข้อ  ค  และ  ฉ
เฉลยข้อ  3

9.ข้อใดเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลไร้สายทั้งหมด.
1.  Wi-Fi  ,  IP              2.  Wi-Fi  ,Bluetooth
3.  3G  ADSL                4.  3G    Ethernet
เฉลยข้อ  2

10.ข้อใดไม่ใช่ข้อเสียของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์.
1.  การทำผิดกฏหมายลิขสิทธิ์มีความผิดทางอาญา
2.  เป็นช่องทางหนึ่งในการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์
3.  ผู้ใช้จะไม่ได้รับการบริการจากผู้พัมนาถ้าหากมีปัญหาการใช้งาน
4.  ทำให้ผู้พัมนาซอฟแวร์ไม่มีรายได้เพื่อประกอบการและพัฒนาต่อไปได้
เฉลยข้อ  2 
ที่มา: https://krupaga.wordpress.com/2013/01/30/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A-o-net-%E0%B8%A1-6-%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/#comments

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


ฟังก์ชันใน PHP

ฟังก์ชันในโปรแกรมส่วนใหญ่ได้รับการเรียกคำสั่งเพื่อทำงานอย่างเดียว สิ่งนี้ทำให้คำสั่งอ่านได้ง่ายและยอมให้ใช้คำสั่งใหม่แต่ละครั้งเมื่อต้องการทำงานเดียวกัน
ฟังก์ชันเป็นโมดูลเก็บคำสั่งที่กำหนดการเรียกอินเตอร์เฟซ ทำงานเดียวกัน และตัวเลือกส่งออกค่าจากการเรียกฟังก์ชัน คำสั่งต่อไปเป็นการเรียกฟังก์ชันอย่างง่าย
my_function ();

คำสั่งเรียกฟังก์ชันชื่อ my_function ที่ไม่ต้องการพารามิเตอร์ และไม่สนใจค่าที่อาจจะส่งออกโดยฟังก์ชันนี้
ฟังก์ชันจำนวนมากได้รับการเรียกด้วยวิธีนี้ เช่น ฟังก์ชัน phpinfo () สำหรับแสดงเวอร์ชันติดตั้งของ PHP สารสนเทศเกี่ยวกับ PHP การตั้งค่าแม่ข่ายเว็บ ค่าต่างๆ ของ PHP และตัวแปร ฟังก์ชันนี้ไม่ใช้พารามิเตอร์และโดยทั่วไปไม่สนใจค่าส่งออก ดังนั้นการเรียก phpinfo () จะประกอบขึ้นดังนี้
phpinfo ();

การกำหนดฟังก์ชันและการเรียกฟังก์ชัน

การประกาศฟังก์ชันเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด function กำหนดชื่อฟังก์ชัน พารามิเตอร์ที่ต้องการ และเก็บคำสั่งที่จะประมวลผลแต่ละครั้งเมื่อเรียกฟังก์ชันนี้
<?php
function function_name(parameter1,…)
{

ชุดคำสั่ง …
}
?>

ชุดคำสั่งต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดในวงเล็บปีกกา ({ }) ตัวอย่างฟังก์ชัน my_function
<?php
function my_function()
{

$mystring =<<<BODYSTRING
my function ได้รับการเรียก
BODYSTRING;
echo $mystring;

}
?>

การประกาศฟังก์ชันนี้ เริ่มต้นด้วย function ดังนั้นผู้อ่านและตัวกระจาย PHP ทราบว่าต่อไปเป็นฟังก์ชันกำหนดเอง ชื่อฟังก์ชันคือ my_function การเรียกฟังก์ชันนี้ใช้ประโยคคำสั่งนี้
my_function ();

การเรียกฟังก์ชันนี้จะให้ผลลัพธ์เป็นข้อความ "my function ได้รับการเรียก " บน browser

การตั้งชื่อฟังก์ชัน

สิ่งสำคัญมากในการพิจารณาเมื่อตั้งชื่อฟังก์ชันคือชื่อต้องสั้นแต่มีความหมาย ถ้าฟังก์ชันสร้างส่วนตัวของเพจควรตั้งชื่อเป็น pageheader () หรือ page_header ()
ข้อจำกัดในการตั้งชื่อคือ
  • ฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกับฟังก์ชันที่มีอยู่
  • ชื่อฟังก์ชันสามารถมีได้เพียงตัวอักษรตัวเลข และ underscore
  • ชื่อฟังก์ชันไม่สามารถเริ่มต้นด้วยตัวเลข
หลายภาษายอมให้ใช้ชื่อฟังก์ชันได้อีก ส่วนการทำงานนี้เรียกว่า function overload อย่างไรก็ตาม PHP ไม่สนับสนุน function overload ดังนั้นฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกันกับฟังก์ชันภายใน หรือฟังก์ชันกำหนดเองที่มีอยู่
หมายเหตุ ถึงแม้ว่าทุกสคริปต์ PHP รู้จักฟังก์ชันภายในทั้งหมด ฟังก์ชันกำหนดเองอยู่เฉพาะในสคริปต์ที่ประกาศสิ่งนี้หมายความว่า ชื่อฟังก์ชันสามารถใช้ในคนละไฟล์แต่อาจจะไปสู่ความสับสน และควรหลีกเลียง
ชื่อฟังก์ชันต่อไปนี้ถูกต้อง
name ()
name2 ()
name_three ()
_namefour ()

ชื่อไม่ถูกต้อง
5name ()
Name-six ()
fopen ()

การเรียกฟังก์ชันไม่มีผลจากชนิดตัวพิมพ์ ดังนั้นการเรียก function_name (), Function_Name() หรือ FUNCTION_NAME() สามารถทำได้และมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่แบบแผนการกำหนดชื่อฟังก์ชันใน PHP ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก
ชื่อฟังก์ชันแตกต่างจากชื่อตัวแปร โดยชื่อตัวแปรเป็นชนิดตัวพิมพ์มีผล ดังนั้น $Name และ $name เป็น 2 ตัวแปร แต่ Name () และ name () เป็นฟังก์ชันเดียวกัน

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
สาระสำคัญ
ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น
นับได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเหมาะสม สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย

ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน
ระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล
นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน
ส่วนในระบบฐานข้อมูล มีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน
- เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล
แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น
เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย
– แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา
- แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษา

- แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา